บทที่ 1 โครงสร้างโลก



1.1 การศึกษาโครงสร้างโลก


          ศึกษาโครงสร้างโลกจากคลื่นไหวสะเทือนที่เคลื่อนผ่านโลก คลื่นที่ใช้ในการวิเคราะห์คือคลื่นปฐมภูมิหรือคลื่น P และคลื่นทุติยภูมิหรือคลื่น S ซึ่งเป็นคลื่นในตัวกลางโดยมีคุณสมบัติดังนี้

- คลื่น P สามารถเคลื่อนที่ผ่านนตัวกลางได้ทุกสถานะ และมีความเร็วมากกว่าคลื่น S





คลื่น  S สามารถเคลื่อนที่ผ่านได้เฉพาะตัวกลางที่เป็นของแข็งเท่านั้น




1.2 การแบ่งโครงสร้างโลก


         แบ่งตามกายภาพได้ 5 ชั้น ดังนี้



-  ชั้นธรณีภาคคือ เป็นชั้นที่อยู่นอกสุดจะพบว่าคลื่นไหวสะเทือนนั้นจะเคลื่อนที่ผ่านด้วยความเร็วที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยทั่วไปมีความลึกประมาณ 100 กิโลเมตร จากผิวโลก
 ฐานธรณีภาค จะสามารถแบ่งออกได้ บริเวณคือบริเวณที่คลื่นไหวสะเทือนมีความเร็วลดลงมีความลึกประมาณ100-400 กิโลเมตร จากผิวโลก และบริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงคือจะเป็นบริเวณที่คลื่นไหวสะเทือนมีความเร็วเพิ่มขึ้นในอัตราที่ไม่สม่ำเสมอ และมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของแร่ มีความลึกประมาณ 400-660 กิโลเมตรจากผิวโลก
- มีโซสเฟียร์คือ เป็นบริเวณที่คลื่นไหวสะเทือนมีความเร็วเพิ่มึ้นสม่ำเสมอเนื่องจากหินหรือสารบริเวณส่วนล่างของมีโซสเฟียร์มีสถานะเป็นของแข็งมีความลึกประมาณ660 - 2900 
แก่นโลกชั้นนอกคือ มีความลึกประมาณ 2900 - 5140 กิโลเมตรจากผิวโลกเป็นบริเวณที่คลื่น มีความเร็วเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆในขณะที่คลื่น S ไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านได้เนื่องจากแก่นโลกชั้นนอกประกอบด้วยสารที่มีสถานะเป็นของเหลว
 - แก่นโลกชั้นในคือ คลื่น S จะสามารถเคลื่อนที่ได้อีกครั้งและคลื่นไหวสะเทือนทั้งสองนี้จะมีความเร็วค่อนข้างคงที่เนื่องจากแก่นโลกชั้นในประกอบด้วยของแข็งที่มีเนื้อเดียวกันมีความลึกประมาณ 5140 จนถึงจุดศูนย์กลางของโลก

      แบ่งตามเคมีได้ 3 ชั้น ดังนี้




 เปลือกโลก (Crust) เป็นผิวโลกชั้นนอก มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นซิลิกอนไดออกไซด์ และอะลูมิเนียมออกไซด์

 แมนเทิล (Mantle) คือส่วนซึ่งอยู่อยู่ใต้เปลือกโลกลงไปจนถึงระดับความลึก 2,900 กิโลเมตร มีองค์ประกอบหลักเป็นซิลิคอนออกไซด์ แมกนีเซียมออกไซด์ และเหล็กออกไซด์

แก่นโลก (Core) คือส่วนที่อยู่ใจกลางของโลก มีองค์ประกอบหลักเป็นเหล็ก และนิเกิล




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น